カテゴリー:
公開日 2025.01.10
目次
Interviewees:
ทาคุยะ ทานิโมโตะ, กรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค เอเนอร์จี (ประเทศไทย) จำกัด
ทัพพ์เทพ จีระอดิศวงศ์, รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานปฏิบัติการ บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน)
บทสัมภาษณ์พิเศษนี้จะพาไปเจาะลึกเบื้องหลังแรงผลักดันที่ทำให้สองบริษัทชั้นนำเดินหน้าโครงการรีไซเคิลถ่านไฟฉายที่ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย พวกเขาวาดภาพอนาคตของโครงการนี้ไว้อย่างไรบ้าง ร่วมสำรวจแนวทางสู่การสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นจริง ผ่านบทสนทนาระหว่าง คุณทัพพ์เทพ จีระอดิศวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานปฏิบัติการ แห่ง ซีพี ออลล์ และ คุณทาคุยะ ทานิโมโตะ กรรมการผู้จัดการ แห่ง พานาโซนิค เอเนอร์จี (ประเทศไทย)
คุณทัพพ์เทพ: ความร่วมมือระหว่าง ซีพี ออลล์ และ พานาโซนิค เอเนอร์จี เริ่มต้นขึ้นในปี 1999 ถ่านไฟฉายพานาโซนิคเริ่มวางจำหน่ายในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงปัจจุบันเป็นเวลายาวนานกว่า 25 ปีแล้ว ผมเข้าทำงานที่ซีพี ออลล์ในปี 1997 แต่ได้พบกับคุณทานิโมโตะเมื่อประมาณ 3 ปีก่อนหลังจากที่เขาเข้ามารับตำแหน่งปัจจุบัน ด้วยความร่วมมืออันมั่นคงกว่า 20 ปีระหว่างสองบริษัท ทำให้เราสร้างสัมพันธ์ที่ดีได้ตั้งแต่เริ่มต้น
ความประทับใจของผมที่มีต่อคุณทานิโมโตะยังคงเหมือนเดิม ไม่ต่างจากเมื่อ 3 ปีก่อน เขาเป็นคนที่เป็นมิตรและจริงใจ ระหว่างการพูดคุยกันหลายครั้ง เราเห็นพ้องต้องกันว่า “เราจะร่วมกันแก้ไขปัญหาสังคมด้วย ไม่ใช่แค่ด้านธุรกิจเพียงอย่างเดียว” เราหารือกันว่าจะสามารถใช้ประโยชน์จากเซเว่น อีเลฟเว่นกว่า 15,000 สาขาได้อย่างไรบ้าง จึงได้เกิดโครงการรีไซเคิลถ่านไฟฉายนี้ขึ้น
คุณทานิโมโตะ: ผมทราบดีว่าบริษัทของเรารักษาความสัมพันธ์อันดีกับซีพี ออลล์มาต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ก่อนที่ผมจะรับตำแหน่งนี้ การวางจำหน่ายถ่านไฟฉายพานาโซนิคในเซเว่น อีเลฟเว่น ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้คนไทยคุ้นเคยกับสินค้าของเรามากขึ้น
ผมเองมีโอกาสได้ร่วมงานกับซีพี ออลล์ครั้งแรกเมื่อปี 2005 ความประทับใจต่อคุณทัพพ์เทพคือ เขาเป็นผู้บริหารที่มีความคิดสร้างสรรค์และมีความกระตือรือร้นอย่างเต็มเปี่ยม ผมยังจำได้ดีเลย ตอนที่พบกันครั้งแรก เขาจดบันทึกและรวบรวมไอเดียต่าง ๆ อย่างตั้งใจตลอดการสนทนา จากตอนนั้นจนถึงตอนนี้เป็นเวลา 3 ปีแล้ว ผมรู้สึกยินดีมากที่โครงการรีไซเคิลนี้เริ่มเป็นรูปธรรมและเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง
คุณทัพพ์เทพ: ซีพี ออลล์มีนโยบาย “7 Go Green” ซึ่งเป็นนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสร้างชุมชนที่ยั่งยืน ตัวอย่างเช่น เราได้ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาร้านเซเว่น อีเลฟเว่น, เลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ช่วยลดการใช้เครื่องปรับอากาศ, ใช้มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสำหรับบริการเดลิเวอรี สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
พานาโซนิค เอเนอร์จีมีจุดแข็งด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่วนซีพี ออลล์มีช่องทางกระจายสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผมเชื่อว่าการผนวกจุดแข็งของทั้งสองฝ่าย จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ จึงเกิดเป็นความร่วมมือในครั้งนี้ขึ้น
คุณทานิโมโตะ: มีอุปสรรคหลายอย่างเลยครับ แต่เราจะร่วมมือกันแก้ไขทุกปัญหาที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น ในช่วงแรกที่นำกล่องรับทิ้งถ่านไปตั้งในเซเว่น อีเลฟเว่น คนทั่วไปยังไม่ทราบเรื่องนี้ การเชิญชวนให้คนนำถ่านไฟฉายใช้แล้วมาทิ้งลงกล่องจึงค่อนข้างท้าทาย ส่วนใหญ่ในกล่องจะมีแต่ใบเสร็จ ดังนั้น ผมจึงปรึกษากับคุณทัพพ์เทพหลายครั้งเพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข
คุณทัพพ์เทพ: พอเราได้มาทบทวนดู พบว่าปัญหาหลัก ๆ มี 3 ข้อ ได้แก่ 1. โครงการยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง 2. สถานที่ตั้งกล่องยังไม่เหมาะสม 3. ต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ซึ่งข้อ 1 และข้อ 2 เป็นสาเหตุที่ทำให้อัตราการเก็บรวบรวมถ่านไฟฉายยังต่ำอยู่ เราจึงร่วมกันหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไข
สำหรับข้อที่ 1 โครงการยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง เราออกแบบกล่องใหม่ให้มีดีไซน์โดดเด่นดึงดูดสายตามากขึ้น ส่วนข้อที่ 2 สถานที่ตั้งกล่องยังไม่เหมาะสม ในช่วงแรกของโครงการนำกล่องไปตั้งไว้ใกล้ ๆ มหาวิทยาลัย เพราะกลุ่มเป้าหมายคือคนรุ่นใหม่ที่มีจิตสำนึกเรื่องสิ่งแวดล้อมสูง ทว่าปริมาณถ่านที่เก็บได้กลับต่ำกว่าที่คาดไว้มาก สาเหตุอาจเป็นเพราะมหาวิทยาลัยเป็นสถานที่เรียนหนังสือ ไม่ใช่ที่ใช้ชีวิตประจำวัน จึงไม่เหมาะกับการตั้งกล่องเท่าไรนัก เราจึงเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ โดยดูจากข้อมูลว่าพื้นที่ไหนบ้างที่มียอดขายถ่านไฟฉายดี และเลือกสถานที่ตั้งจุดรับทิ้งอีกครั้ง
ปัจจุบัน เรามีจุดรับทิ้งถ่านไฟฉายในเซเว่น อีเลฟเว่นกว่า 1,000 แห่ง ซึ่งเลือกสาขาโดยอิงจากข้อมูลการเก็บรวบรวมและพฤติกรรมของลูกค้า ครอบคลุมทั้งกรุงเทพมหานครและอีก 72 จังหวัดทั่วประเทศ อัตราการเก็บรวบรวมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากนี้ไปเราตั้งใจเพิ่มจำนวนกล่องรับทิ้งไปพร้อม ๆ กับสร้างความตระหนักรู้และกระตุ้นจิตสำนักในการรีไซเคิลให้แก่ลูกค้าด้วย
คุณทานิโมโตะ: สิ่งสำคัญของโครงการรีไซเคิลนี้คือ การสร้างนิสัยให้ผู้คนนำถ่านไฟฉายใช้แล้วไปทิ้งในกล่องรับทิ้ง ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ขั้นแรกคือต้องให้ข้อมูลว่าถ่านไฟฉายใช้แล้วเหล่านี้จะถูกส่งไปที่ไหนและจะนำไปทำอะไรต่อ เพื่อให้ผู้คนตระหนักได้ว่าสิ่งที่พวกเขาทำเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนเช่นกัน
คุณทัพพ์เทพ: อันดับแรก เราอยากเพิ่มจำนวนสาขาที่ติดตั้งกล่องรับทิ้งถ่าน แต่จะเพิ่มอีกเท่าใดนั้น ต้องพิจารณาโดยอิงจากอัตราการเก็บรวบรวมและปริมาณที่รีไซเคิลได้ นอกจากนี้ ยังอยากมุ่งเน้นสร้างความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในกลุ่มผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ และในอนาคตเรามุ่งหวังจะสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน โดยเก็บรวบรวมถ่านไฟฉายใช้แล้ว นำมารีไซเคิล และทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
คุณทานิโมโตะ: เทียบกับปี 2022 ที่มีจุดรับทิ้งในเซเว่น อีเลฟเว่นเพียง 31 สาขา ปัจจุบันเราขยายจุดรับทิ้งจนมีมากถึง 1,000 สาขา ทำให้เก็บรวบรวมถ่านใช้แล้วได้เฉลี่ย 80 ก้อนต่อสาขาต่อเดือน และอัตราการเก็บรวบรวมก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทำงานร่วมกับคุณทัพพ์เทพเพื่อเพิ่มจำนวนสาขาติดตั้งกล่องรับทิ้ง มีส่วนทำให้คนไทยหันมาให้ความสนใจโครงการนี้มากขึ้น ทั้งยังช่วยสร้างกระแสตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในสังคมอีกด้วย ผมเชื่อว่าหากโครงการนี้ได้รับความสนใจจากรัฐบาลก็จะช่วยผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนให้แพร่หลายในไทยได้
THAIBIZ編集部
日タイ企業が「前例なし」に挑む! 新・サーキュラー エコノミー構想
協創・進出 ー 2025.01.10
2025年タイ経済の課題とチャンス 〜 注目の産業トレンドを読み解く
ビジネス・経済 ー 2025.01.10
現地化が成功した組織で一時は苦心 タイ人から学びながら見出す「駐在員の役割」
対談・インタビュー ー 2025.01.10
エヌビディアCEO訪タイで、タイ人が一喜一憂した理由
ビジネス・経済 ー 2025.01.10
老朽化対策の最前線 日本発の3次元データがタイ高速道路を革新
協創・進出 ー 2025.01.10
สัมภาษณ์พิเศษ CP All x Panasonic Energy: ก้าวใหม่ของความร่วมมือไทย – ญี่ปุ่น ร่วมสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน
協創・進出 ー 2025.01.10
SHARE