最新記事やイベント情報はメールマガジンで毎日配信中
カテゴリー: บทความภาษาไทย - タイ語記事
公開日 2025.03.08
ในปีค.ศ. 2022 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยเปิดเผยว่าภาคการเกษตรมีสัดส่วนประมาณ 8.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เรียกได้ว่าภาคเกษตรกรรมซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ถือเป็นหนึ่งในเสาหลักของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ประเทศไทยยังสามารถผลิตมันสำปะหลังและอ้อยในปริมาณมาก ทำให้ “พลังงานชีวภาพ” ซึ่งใช้วัตถุดิบเหล่านี้เป็นจุดแข็งสำคัญของอุตสาหกรรมไทย
ในครั้งนี้เราได้สัมภาษณ์ คุณกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล (GGC) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพในกลุ่มปตท. เกี่ยวกับภาพรวมของธุรกิจ อนาคตของพลังงานชีวภาพและผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ รวมถึงโอกาสในการร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่น
(สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2024 โดยคุณกันตธร CEO ของ Mediator และกองบรรณาธิการ THAIBIZ)
目次
คุณกฤษฎา: บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGCเริ่มต้นในฐานะ บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จำกัด หรือ TOL ก่อนเปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชนและเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2560 เป้าหมายหลักของเราคือการเป็นผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์สีเขียวที่มุ่งเน้นเรื่องความยั่งยืน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
ธุรกิจของเราสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
BioEnergy: มีสัดส่วนรายได้ประมาณ 62% ของทั้งหมด (ไตรมาส 3 ปี 2567) เราเป็นผู้ผลิตเมทิลเอสเทอร์ หรือไบโอดีเซล (B100) ด้วยกำลังผลิต 500,000 ตันต่อปี และเอทานอลจากปาล์มน้ำมันและอ้อยสำหรับผสมในน้ำมันแก๊สโซฮอล
BioChemical: มีสัดส่วนประมาณ 37% เราเป็นผู้ผลิต Fatty Alcohol รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย สารนี้จะเป็นสารตั้งต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์ Home & Personal Care ปัจจุบันเรามีกำลังการผลิตถึง 100,000 ตันต่อปี และกว่า 70% ถูกส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป และอื่นๆ นอกจากนี้เรายังผลิต Refined Glycerine ซึ่งใช้ในผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ Specialty Chemicals เช่น FAEO (Fatty Alcohol Ethoxylate) ซึ่งถูกนำไปใช้ในสินค้าอุปโภคบริโภค
Food Ingredients & Pharmaceutical :มีสัดส่วนประมาณ 1% เช่น สารให้ความหวาน สารประกอบในอาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แบรนด์ “นิวทราลิสท์” เช่น โปรไบโอติกที่ช่วยปรับสมดุลลำไส้ และแอสตาแซนธิน ซึ่งมีส่วนช่วยในเรื่องผิวพรรณ ในอนาคตเราวางแผนที่จะขยายผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Food Ingredients & Pharmaceutical ให้มากขึ้น เพื่อ
คุณกฤษฎา: ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในฐานะ Biohub เรามีประสบการณ์และกระบวนการผลิตที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งไม่มีปัญหาเรื่องการตัดไม้ทำลายป่าเหมือนบางประเทศ ทำให้ผลิตภัณฑ์ของไทยเข้าถึงตลาดยุโรปและอเมริกาได้ง่าย
อีกทั้ง ไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพที่เหนือกว่าหลายประเทศ ซึ่งช่วยให้เรา สามารถพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้ ทว่าต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ในการเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบตั้งต้น เช่น การผลิตสารตั้งต้นสำหรับเครื่องสำอาง หรือ Specialty Chemicals
ในมุมมองของ GGC เอง เราเข้าใจตลาดระดับโลกจากการบริหารจัดการปริมาณการผลิตขนาดใหญ่ และการที่เราเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ปตท. สิ่งนี้ช่วยให้ GGC มี ศักยภาพในการบูรณาการ อย่างครบวงจรใน Value Chain ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทแม่ หรือบริษัทในเครือ เช่น พลังงาน ปิโตรเคมี หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ความร่วมมือนี้ช่วยเสริมความสามารถในการแข่งขันของเราได้อย่างดี
คุณกฤษฎา: ในกลุ่ม ปตท. เรามุ่งเน้นการพัฒนาไบโอโปรดักส์อย่างจริงจัง โดย GGC ถือว่าเป็น “กรีนแฟลกชิป” ของกลุ่ม เราได้รับมอบหมายในการพัฒนา Bio, Circular, and Sustainability Products ทั้งการวางเป้าหมายเชิงกลยุทธ์และการประสานงานกับบริษัทในเครือ โดยในอีก 1-2 ปีข้างหน้า จะเห็นภาพการบูรณาการอย่างชัดเจนมากขึ้นในกลุ่ม ปตท. ซึ่งจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของเราในฐานะผู้นำด้านไบโอโปรดักส์
นอกจากนี้เรามองว่า Bioenergy ยังมีศักยภาพที่ดีในการเติบโตอีกมาก ตอนนี้ผมมองว่า Generation 1 เช่น ไบโอดีเซลและเอทานอล จะยังคงมีความต้องการอยู่ เนื่องจากยังสามารถใช้ร่วมกับเชื้อเพลิงฟอสซิลในเครื่องยนต์สันดาปภายใน โดยเฉพาะในกลุ่มรถเชิงพาณิชย์ เช่น รถบรรทุก ซึ่งยังไม่สามารถเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าได้เนื่องจากปัญหาเรื่องต้นทุน
ทว่าในอนาคตเราจำเป็นต้องมีการพัฒนาไปสู่ เจเนอเรชันที่ 2 เช่น Bio-Jet Fuel ที่สามารถนำไปใช้กับอุตสาหกรรมการบิน หรือ Green Methanol ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเดินเรือ โดยปัจจุบันเราก็เห็นความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดเชื้อเพลิงสำหรับเรือเดินสมุทร (Marine Fuel) ซึ่ง ตัวนี้สำคัญเพราะสามารถนำไปใช้งานได้โดยตรงกับเครื่องยนต์ในปัจจุบัน
คุณกฤษฎา: จุดแข็งของประเทศไทยในด้านการเกษตร เช่น การมีปาล์มน้ำมัน และอ้อย ช่วยทำให้เรามีวัตถุดิบที่ยั่งยืนและมีคุณภาพสูงสำหรับการผลิตไบโอโปรดักส์ เมื่อรวมกับกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพของ GGC ผมเชื่อว่าเราสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก และตอบสนองความต้องการ ด้านพลังงานและผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่ยั่งยืนได้ เราตั้งเป้าหมายให้ผลิตภัณฑ์ของเราเป็น “Product of Thailand” โดยวัตถุดิบทั้งหมดมาจากในประเทศ แต่การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งเราคิดว่าญี่ปุ่นสามารถตอบโจทย์ในจุดนี้และสามารถสร้างโอกาสในตลาดโลกร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
คุณกฤษฎา:โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่สอดรับกับนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) ของประเทศไทย โดยมีจุดเด่นสองส่วนหลักๆคือ
1) มุ่งเน้นการผลิตเอทานอลโดยใช้วัตถุดิบจากอ้อยเป็นหลัก นอกจากนี้ บายโปรดักส์ (By-product) จากกระบวนการผลิต เช่น ชานอ้อย (Bagasse) ยังถูกนำไปใช้ผลิตไฟฟ้าจากไบโอแมส (Biomass) ด้วยกำลังการผลิตประมาณ 80 เมกะวัตต์ ไฟฟ้าส่วนหนึ่งถูกใช้ในโรงงานเอทานอลของเราเองและส่วนที่เหลือจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT)
2) เน้นไปที่การจัดหาทรัพยากรสำคัญ เช่น ไฟฟ้า น้ำ และการจัดการของเสีย รวมถึงการซัพพลายวัตถุดิบให้กับบริษัทลูกในเครือ GC เช่น การผลิตพลาสติกชีวภาพ PLA (Polylactic Acid) โดยโครงการนี้เป็นตัวอย่างที่ดีของการบูรณาการภายในเครือปตท. ที่สร้างความเชื่อม โยงในห่วงโซ่คุณค่าอย่างครบวงจร
คุณกฤษฎา: GGC ร่วมกับ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย ดำเนินโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Sustainable Palm Oil Production and Procurement: SPOPP) จุดประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับเกษตรกรปลูกปาล์มลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และส่งเสริมการปลูกปาล์มยั่งยืนที่สอดรับกับกฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า EU เป้าหมายแรกคือ เรามุ่งเน้นการสนับสนุนเกษตรกรให้รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน สร้างองค์ความรู้ให้เกษตรกร ลดต้นทุนการปลูกเพิ่มผลผลิตก่อน จากนั้นเราสนับสนุนการปรับปรุงกระบวนการปลูกปาล์มให้ได้มาตรฐาน RSPO (Roundtable on Sustainable Palm Oil) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลสำหรับการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ เราทำงานร่วมกับโรงสกัดน้ำมันปาล์มในฐานะตัวกลางที่เชื่อมโยงเกษตรกรกับตลาด ปัจจุบัน GGC รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงสกัดประมาณ 10 แห่ง เพื่อนำไปผลิตเป็น B100 และ Fatty Alcohol สำหรับจำหน่ายในประเทศและส่งออก
คุณกฤษฎา: ญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งตรงกับความต้องการของเรา เช่นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโมเดล เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวหรือ Bio-Circular-Green Economy (BCG) รวมถึงด้านความยั่งยืน Bioenergy Bio-chemicals และ High-Value Products เป็นต้น โดยเราสามารถจัดหาวัตถุดิบคุณภาพสูง พร้อมการสนับสนุนจากบริษัทแม่ (PTTGC) ซึ่งมีศูนย์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ทำให้การร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่นสามารถเกิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเทคโนโลยีที่เราให้ความสนใจ เช่น
1) Bio-energy และ Sustainability Products:เช่น การแปลง CO2 ให้เป็น Green Methanol ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เรากำลังศึกษาและมองหาโอกาสในการต่อยอดในอุตสาหกรรมการเดินเรือ
2) ธุรกิจใหม่ของเชื้อเพลิงชีวภาพ: การพัฒนา Bio-jet Fuel จากเอทานอล ซึ่งเราได้เริ่มต้นความร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่นเจ้าหนึ่ง โดยได้ทำ MOU และกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น Bio-ethylene และ Bio-polymers
3) การใช้เศษวัสดุจากพืชในระบบ Circular Economy: เรากำลังร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่นในการศึกษาแนวทางการนำวัสดุเหลือใช้ เช่น ทลายปาล์ม และ ต้นปาล์มมาผลิตเป็นถ่านชีวภาพ (Biochar) เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียจากกระบวนการผลิต
4) ตลาด High-Value Products: เช่น เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของญี่ปุ่น โดยเฉพาะในเรื่องสารตั้งต้น เช่น Nano-zinc และสารสกัดอื่นๆ
THAIBIZ編集部
「日の丸EV」反撃開始 ~日系各社、中国系の水準に到達~
自動車・製造業 ー 2025.04.18
動画で現場が変わる!タイの製造現場における教育改革
自動車・製造業Sponsered ー 2025.04.17
駐在員必読! タイ式経営の流儀
協創・進出 ー 2025.04.10
人間力とコミットメント、発信力で人を巻き込む タイでの起業から始まる数々の出会いと変革
対談・インタビューSponsered ー 2025.04.10
世界に羽ばたく変革人材と、その登竜門としてのタイの魅力
協創・進出Sponsered ー 2025.04.10
タイビズ1周年記念セミナー開催レポート
イベント ー 2025.04.10
SHARE