カテゴリー:
公開日 2022.05.16
เนื่องในโอกาสความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่น-ASEAN จะก้าวเข้าสู่ปีที่ 50 โครงการศูนย์วิจัยการลงทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย TJRI จึงจัดทำชุดบทสัมภาษณ์ผู้บริหารบริษัทเทรดดิ้งชั้นนำของญี่ปุ่นในไทย โดยมุ่งเน้นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับประเทศไทย เพื่อสอบถามถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นและไทย รวมถึงประชาคม ASEAN ในทิศทางการขยายตัวของธุรกิจใหม่ ๆ โดยในฉบับที่ 3 นี้เราได้รับเกียรติจากคุณฟุคุดะ ยาซูชิ ประธานบริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น ไทยแลนด์ จำกัด มาร่วมพูดคุยในบทสัมภาษณ์นี้
目次
คุณฟุคุดะ: เราเป็นบริษัทเทรดดิ้ง ทำธุรกิจที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกเป็นหลัก นอกจากนี้ก็มีการดำเนินธุรกิจในสายงานอื่น ๆ เช่น สร้างโครงการใหม่ ๆ ร่วมกับพาร์ทเนอร์ หรือเริ่มธุรกิจใหม่ของเรา ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับยานยนต์, สารเคมี, โลหะ, สินค้าบริโภค, โครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น และเรายังพัฒนาธุรกิจไปในอีกหลายประเทศ โดยมีรากฐานอิงตามบริบทของประเทศนั้นๆ
คุณฟุคุดะ: มองย้อนกลับไปเมื่อ 40 ปีก่อน ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2525 ที่ผมเข้ามาทำงานที่บริษัทซูมิโตโม เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดคือ การที่บริษัทญี่ปุ่นมารวมตัวในประชาคม ASEAN โดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทในอุตสาหกรรมการผลิต ได้เอาชนะความยากลำบากต่าง ๆ ทั้งวิกฤตทางเศรษฐกิจ การเงิน ปัญหาน้ำท่วมและอื่นๆ จนประสบความสำเร็จในวางรากฐานขนาดใหญ่ และสร้างห่วงโซ่อุปทานขึ้นมา
หลังจากพ.ศ. 2533 ซูมิโตโมได้ทำธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมในต่างประเทศอย่างจริงจัง มีแนวคิดหลักเพื่อที่จะให้บริษัทญี่ปุ่นเข้ามาในนิคมอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น และสร้างคุณประโยชน์ด้านต่าง ๆ ให้ผู้คนในแต่ละประเทศ
ในบรรดาธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมในภูมิภาค ASEAN เราเริ่มในไทยช้ากว่าประเทศอื่นเล็กน้อย เราไม่ได้พัฒนาโครงการด้วยตนเอง แต่ร่วมมือกับอมตะ คอร์ปอเรชั่น นอกจากนี้ เรายังพัฒนานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในเวียดนามชื่อว่า “นิคมอุตสาหกรรมทังลอง (Thang Long Industrial Park)” อีก 3 แห่ง และมีการเปิดนิคมฯที่อินโดนิเซีย, ฟิลิปปินส์, เมียนมา, อินเดีย และบังกลาเทศเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
คุณฟุคุดะ: ในพ.ศ.2533 ตอนที่ผมไปประจำที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และโรงงานผลิตรถยนต์ ส่งผลให้มีซัพพลายเยอร์จำนวนมากเกิดขึ้น หลังจากทำเกี่ยวกับการสนับสนุนโลจิสติกส์ที่ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่นในอเมริกาเป็นเวลาประมาณ 8 ปี ผมก็กลับไปประเทศญี่ปุ่น และเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ หลังจากนั้นก็ได้ไปอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนิเซียตั้งแต่พ.ศ. 2551 ถึงพ.ศ. 2555 รับผิดชอบการสนับสนุนงานที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ของบริษัทญี่ปุ่นเป็นหลัก ก่อนจะเดินทางกลับประเทศญี่ปุ่น มารับหน้าที่ดูแลนิคมอุตสาหกรรมในต่างประเทศของซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น
คุณฟุคุดะ: Localization หรือการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้เข้ากับบริบทสังคม เป็นหัวข้อที่ใหญ่ระดับโลก ไม่ได้จำกัดแค่ในไทย ซึ่งเราก็กำลังผลักดันอยู่ในหลายประเทศ ปัจจุบันฝ่ายบริหารหลัก (Corporate Department) ของซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น ไทยแลนด์ จำกัด มีชาวญี่ปุ่นเพียงแค่ 2 คน คือรองประธานและพนักงานฝึกงาน ที่เหลือเป็นคนไทยทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ในระดับผู้จัดการทั่วไป (GM) ของฝ่ายขาย ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นคนญี่ปุ่น เพราะลูกค้าที่เป็นบริษัทญี่ปุ่นมีอยู่มาก จึงจำเป็นต้องให้คนญี่ปุ่นทำหน้าที่นี้เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในการสื่อสาร และทำให้การบริการเป็นไปตามมาตรฐานของเรา นี่เป็นจุดหนึ่งที่เรามองว่าเป็นอุปสรรคในการ Localization
ผมเองก็อยากยกตำแหน่งของผมให้คนไทยดูแลเหมือนกัน แต่จะทำได้หรือไม่นั้นคงต้องดูต่อไปในอนาคต เพราะว่ายังมีปัญหาที่แก้ได้ยากคือ เรื่องการสื่อสารกับสำนักงานใหญ่ที่ญี่ปุ่น แม้ฝั่งพนักงานในไทยจะพยายามกันอย่างเต็มที่ แต่พอต้องสื่อสารกับสำนักงานใหญ่ก็ต้องใช้ภาษาญี่ปุ่นอยู่ดี และถึงจะฝึกพนักงานไทยขึ้นมาเป็นผู้บริหาร แต่อาจจะสื่อสารได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ผมมองว่าต้องส่งพนักงานไทยไปฝึกงานที่ญี่ปุ่นเพิ่ม และสร้างระบบสนับสนุนจากทางสำนักงานใหญ่ที่ญี่ปุ่น เพื่อให้พนักงานไทยเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นมากขึ้น
คุณฟุคุดะ: พนักงานของเราจะต้องเข้าใจว่าบริษัท ซูมิโตโม คืออะไร ถึงแม้ว่าจะมีหัวหน้าจะเป็นคนไทยก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น ประวัติของซูมิโตโมกรุ๊ปที่มียาวนานมากกว่า 400 ปี เรื่องนี้เรามองว่าสำคัญมาก เราจึงเริ่มปูพื้นฐานตั้งแต่ช่วงฝึกงาน และหากในอนาคต พนักงานที่ได้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าจะต้องเข้าใจว่าบริษัทเรามีเป้าหมายอะไร ให้ความสำคัญกับเรื่องใด สมัยก่อน ตอนที่พนักงานคนไทยที่ตอนนี้เป็นระดับซีเนียร์ได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่น พอกลับมาก็เข้าใจความเป็นญี่ปุ่นและใช้ภาษาญี่ปุ่นได้อย่างคล่องแคล่ว ผมคิดว่าคนเหล่านี้เหมาะสมที่จะเป็นคนที่ชี้นำบริษัทญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ความน่าสนใจของประเทศญี่ปุ่นลดน้อยลงเรื่อย ๆ ทำให้คนรุ่นใหม่หันไปศึกษาต่อที่ประเทศฝั่งยุโรปและสหรัฐอเมริกามากกว่า หากเป็นเช่นนี้ญี่ปุ่นก็จะประสบปัญหา เพราะคนรุ่นใหม่ที่กลับจากยุโรปหรืออเมริกาก็จะรู้สึกว่าไม่ต้องทำงานในบริษัทญี่ปุ่นก็ได้ ทำให้บริษัทญี่ปุ่นในไทยแข่งขันกับบริษัทของฝั่งตะวันตกหรือของประเทศอื่นได้ยากขึ้น โดยเฉพาะการหาบุคลากร ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีบริษัทจีน เกาหลี และไต้หวันที่กำลังขยายตัวอยู่เช่นกัน ทำให้มีความกังวลว่าบริษัทญี่ปุ่นจะสูญเสียความได้เปรียบในประเทศไทยไป
คุณฟุคุดะ: บริษัทไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ตั้งแต่บริษัทขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ ไม่ใช่แค่ในประเทศตัวเอง แต่ไปยังประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย ซึ่งก็เคยมีบริษัทที่ใช้เครือข่ายทางธุรกิจของเราในการขยายธุรกิจไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากในตอนนั้นบริษัทไทยไม่สามารถดำเนินการด้วยตนเองได้มากนัก จึงเกิดเป็นความร่วมมือระหว่างเราและบริษัทไทย เรามองว่ายังมีแนวโน้มที่จะเกิดความร่วมมือเช่นนี้อีกได้ในอนาคต ซึ่งเราเองก็ต้องเตรียมพร้อมพัฒนาจุดแข็งของเราเพิ่ม ไม่ใช่แค่อาศัยเครือข่ายทางธุรกิจที่มีอยู่เพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ เรายังมีความร่วมมือกับบริษัทจีนและประเทศอื่น ๆ อยู่พอสมควร เนื่องด้วยบริษัทจีนกำลังรุกตลาดประเทศไทย ทั้งด้านรถยนต์ไฟฟ้า (EVs) และด้านอื่น ๆ จึงอาจจะมีกรณีที่บริษัทจีนร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่นเพื่อยกระดับเทคโนโลยี หรือบริษัทจีนร่วมมือกันเองก็ตาม เรามองว่ามีความเป็นไปได้ที่จะร่วมมือกับบริษัทจากประเทศอื่น ๆ แล้วร่วมกันสร้างธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทย เราเลือกที่จะร่วมมือและเติบโตไปด้วยกัน แทนที่จะเว้นระยะห่างกับบริษัทต่างประเทศ
คุณฟุคุดะ: เราอยากขยายธุรกิจย่อย (Business Unit) ต่าง ๆ ของเรา ยกตัวอย่างเช่น การขยายไปสู่โมเดลเศรษฐกิจ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว) ปัจจุบันกระแสการเคลื่อนไหวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ลำพังธุรกิจย่อยแค่บริษัทเดียวจึงไม่เพียงพอ
โครงการเพื่อการลดคาร์บอนส่วนหนึ่งของเราเริ่มดำเนินการแล้ว แต่ในตอนนี้ เราพยายามจะกระชับความร่วมมือแนวราบ (Horizontal Cooperation) ของเครือเราเองให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพราะบริษัทเทรดดิ้งมักจะแบ่งธุรกิจเป็นแนวตั้งและมีธุรกิจย่อยที่แตกต่างกัน ก็ทำให้ธุรกิจย่อยที่ดำเนินธุรกิจคนละด้านดูเหมือนเป็นคนละบริษัทกัน หากเราไม่กระชับความร่วมมือในแนวราบให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เราจะไม่สามารถแสดงจุดเด่นของความเป็นบริษัทเทรดดิ้งได้
ปัจจุบัน เราทำธุรกิจด้านการลดคาร์บอนครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ทั้งยานยนต์, พลังงาน, เคมีภัณฑ์, การเกษตรอัจฉริยะ (Smart farming) และด้านอื่น ๆ อีกทั้ง ธุรกิจเดิมของเราอย่างการค้าขาย, โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง และโครงการผลิตไฟฟ้าก็ยังเดินหน้าต่อไปเช่นกัน
คุณฟุคุดะ: ซูมิโตโมกรุ๊ปมีประวัติยาวนานมากกว่า 400 ปี แต่บริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่นของเรานั้น เพิ่งมีอายุครบ 100 ปี ปรัญชาองค์กรที่ยึดถือมาตั้งแต่อดีตคือ “อย่ามุ่งเน้นกำไรที่ได้มาง่าย ๆ” กล่าวคือ อย่ายึดติดกับผลกำไรระยะสั้น ให้มองระยะยาวเป็นหลัก
รวมถึงการทำเพื่อสังคม เราอยากตอบแทนประเทศ ภาคอุตสาหกรรม และผู้คนในท้องถิ่นที่เราเข้าไปทำธุรกิจ ไม่ใช่แค่ให้ความสำคัญกับการเติบโตของบริษัทเราเองเพียงอย่างเดียว ยกตัวอย่างเช่น สร้างงานในท้องถิ่น พัฒนาพื้นที่รอบ ๆ เขตอุตสาหกรรมให้เจริญยิ่งขึ้น และทำให้ผู้คนในพื้นที่โดยรอบได้รับประโยชน์และสิ่งดี ๆ ซึ่งนี่คือปรัชญาที่ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่นยึดถือและจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง เรามองว่าเราเป็นหนี้บุญคุณประเทศนั้น ๆ เราจึงยึดมั่นในการตอบแทนและคืนกำไรให้แก่ผู้คนในพื้นที่และประเทศเป็นสำคัญ
TJRI編集部
ネットゼロに向け気候変動法と炭素税の導入が果たす役割 ~タイ温室効果ガス管理機構(TGO)副事務局長インタビュー~
対談・インタビュー ー 2024.10.07
タイの気候変動対策の現在地 ~炭素税導入間近、再エネシフトの行方は~
カーボンニュートラル ー 2024.10.07
デュシタニとサイアムモーター、日本のプレミアム食品
ニュース ー 2024.10.07
ジェトロ・バンコク事務所が70周年記念フォーラム開催
ニュース ー 2024.09.30
タイから日本食文化を世界へ広める 〜 ヤマモリトレーディング長縄光和社長インタビュー
対談・インタビュー ー 2024.09.30
「生成AI」は社会をどう変えるのか ~人間にしかできないこととは~
ビジネス・経済 ー 2024.09.30
SHARE